. ...........ยินดีต้อนรับสู่บ้าน.......การพัฒนากำลังพลแผนกธุรการและกำลังพล............. สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย............

ข่าวเด่นวันนี้


.....การตรวจเอกสารจากคณะชุดตรวจ จเร.ทหาร ประจำปีงบประมาณ 2561 ....

Monday, August 20, 2018

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

การประชุมเชิงปฏิบัติเรื่องการจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของ บก.ทท.
14-15 ส.ค.61 




การจัดทำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของ บก.ทท. คือก้าวหนึ่งของการดำเนินการของกำหนดขอบเขตเส้นทางความก้าวหน้าในหน้าที่ที่มีเหล่าสายวิทยาการเป็นตัวกลั่นกรองเส้นทาง


Sunday, June 17, 2018

การประชุมเชิงปฏิบัติการ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ภูผาผึ้งรีสอร์ท อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี




          การประชุมแบบการประชุมปฏิบัติการ หรือ การประชุมเชิงปฏิบัติการที่เรียกกันว่านี้ เป็นการประชุมอีกแบบหนึ่ง ที่ใช้กันมากในบริษัทในวงการธุรกิจ อุตสาหกรรม และในองค์การต่าง ๆ เนื่องจากการประชุมแบบนี้ จะต้องมีการฝึกปฏิบัติ สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมเป็นหลักสำคัญ การประชุมแบบนี้ ปกติแล้วจะมีสมาชิกที่ร่วมประชุมจำนวนไม่มากนัก คือมักจะมีจำนวนแต่เพียงพอเหมาะกับอุปกรณ์ และ เครื่องอำนวยความสะดวกในการฝึกปฏิบัติการ ในเรื่องที่จัดประชุมนั้น ๆ ขึ้น เนื่องจากเน้นการฝึกปฏิบัติเป็นส่วนที่สำคัญมาก

         ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ สมาชิกในการประชุมจะต้องร่วมกันศึกษา รับฟังการบรรยาย หรือ ศึกษาค้นคว้า ทำความเข้า และฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเฉพาะอย่าง ตามหัวข้อของการประชุมปฏิบัติการครั้งนั้น ๆ หลักสำคัญของการประชุมแบบนี้คือ การเรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติในการปฏิบัติงานจริง ตัวอย่าง การประชุมเชิงปฏิบัติการ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างแบบทดสอบแบบวัดความพึงพอใจของผู้บริหาร การประชุมเชิงปฏิบัติการซ่อมบำรุงเกียร์ระบบอัตโนมัติ การประชุมเชิงปฏิบัติการซ่อมบำรุงเกียร์ระบบอัตโนมัติ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดหมวดหมู่เอกสารในสำนักงาน เป็นต้น

Tuesday, June 12, 2018

การทดสอบร่างกายประจำปี















ความหมาย ของการทดสอยสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Test) หมายถึง การวัดระดับความสามารถของร่างกายหรือส่วนต่างของร่างกายที่ต้องการวัดเพื่อประเมินระดับความสามารถว่าดีมากน้อยเพียงใดโดยเฉพาะ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ ความเร็ว พลังกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว และความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิต
 ความสำคัญ ของการทดสอยสมรรถภาพทางกาย ในการประเมินความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย สามารถทำได้โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรับกลุ่มนักกีฬาทำการทดสอบสมรรถภาพ เพื่อให้ทราบระดับความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งในขณะฝึกซ้อม ก่อนแข่งขัน และหลังแข่งขัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเล่นกีฬา สำหรับแข่งขันให้สูงขึ้นมากที่สุด สำหรับบุคคลธรรมดา ควรทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ให้ทราบระดับความสามารถของร่างกาย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับตนเอง และพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้น และมีความพร้อมต่อการออกกำลังกาย และการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน 
1.1 เพราะเหตุใดจึงต้องมีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
การมีสุขภาพร่างกายที่ดีนั้นประกอบด้วย ความสมบูรณ์ของระบบไหลเวียน หายใจ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ และส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง เปอร์เซ็นต์ไขมัน การพัฒนาเสริมสร้างร่างกายควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กโดยเฉพาะการเรียนพลศึกษาในโรงเรียน จะเห็นได้ว่าในโรงเรียนจะต้องมีการวัดและทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหรือนักเรียนมีการพัฒนาหรือไม่อย่างไร ยิ่งกว่านั้นผลจากาการทดสอบจะนำไปใช้ในการพัฒนา ทั้งในกลุ่มคนที่เป็น สมรรถภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
 1.2 ทดสอบสมรรถภาพทางกายมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. แบ่งกลุ่มระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
2. เพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
3. ใช้ในการประเมินให้คำแนะนำการออกกำลังกาย
4. ใช้ในการประเมินโปรแกรมการออกกำลังกาย
5. เพื่อจัดระดับสมรรถภาพทางกายจะได้จัดโปรแกรมได้ถูกต้อง
6. เป็นแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้อยากทราบระดับสมรรถภาพของตนเองและการออกกำลังกายต่อไป
7. ใช้ในการคาดคะเนความเหมาะสมกับการออกกำลังกาย
8. เป็นเครื่องมือสอนเกี่ยวกับสุขภาพและสมรรถภาพทางกายได้อีกวิธีการหนึ่ง
9. ใช้ในการวิจัย เช่น เปรียบเทียบโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือระดับสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ ในแต่ละกลุ่ม เป็นต้น
1.3 ข้อควรปฏิบัติในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. การแต่งกายด้านความคล่องแคล่วว่องไวควรคำนึงถึง
1.1 เสื้อผ้าขนาดพอเหมาะกับร่างกาย
1.2 ทรงผมจัดให้เรียบร้อย
1.3 รองเท้าไม่มีส้นที่สูง (รองเท้าผ้าใบสวมถุงเท้าทุกครั้ง)
2. การแต่งกายด้านความทนทานควรคำนึงถึง
2.1 เสื้อแขนยาว ผ้าใยเทียม ทำให้การระบายความร้อนยาก (เสียเหงื่อมาก)
2.2 ผ้าสีทึบดูดความร้อนได้มากกว่าสีอ่อน
1.4 หลักปฏิบัติในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. วันก่อนทดสอบ
1.1 อาหารประจำวันไม่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากเดิมมากนัก
1.2 งดการออกกำลังกายหนัก
1.3 หลีกเลี่ยงการใช้ความคิดหนัก
1.4 งดกินยาที่ออกฤทธิ์ระยะนาน
1.5 พักผ่อนให้เพียงพอ
2. วันที่ทดสอบ
2.1 อาหารควรรับประทานอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบ
2.2 งดกินยาหรือสิ่งกระตุ้น (บุหรี่ ชา กาแฟ)
2.3 เตรียมเครื่องแต่งกายให้พร้อม
3. การทดสอบ
3.1 ถ้ารู้สึกว่าไม่สบายให้หยุดหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
3.2 อย่าหยอกล้อกันตั้งใจทดสอบอย่างเต็มที่
1.5 ข้อห้ามในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. แพทย์ไม่อนุญาตให้ออกกำลังกายมากเกิน
2. อุณหภูมิร่างกายเกิน 37 องศาเซลเซียส
3. อัตราการเต้นของหัวใจเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที
4. มีอาการที่ส่อแสดงว่าหัวใจทำงานผิดปกติ
5. อยู่ในระยะที่มีการติดเชื้อ
นักกีฬามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสุขภาพที่ดี มีสมรรถภาพทางกายที่ดี สมรรถภาพทางกายที่สำคัญประกอบด้วย
  • ความทนทานของระบบไหลเวียนและหายใจ
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ความทนทานของกล้ามเนื้อ
  • พลังกล้ามเนื้อ
  • ความเร็ว
  • ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ
  • ส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย
  • ความคล่องแคล่วว่องไว
  • ความแม่นยำ
  • ความสมดุลของการทรงตัว เวลาปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย
  • การประสานสัมพันธ์ของประสาทกล้ามเนื้อ
สมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ นี้มีความจำเป็นและสำคัญแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด
กีฬา ฉะนั้นการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ก็เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ นำผลที่ได้ไปปรับปรุงรูปแบบในการพัฒนานักกีฬาต่อไป
1.6 ประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
    • ทำให้ทราบระดับความสามารถของตนเองหรือผู้ที่ถูกทดสอบว่าระดับสมรรถภาพทางกายที่ทดสอบนั้นอยู่ในระดับดีมากน้อยเพียงเมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน
    • ทำให้ทราบถึงการพัฒนาของสมรรถภาพทางกายและสามารถนำไปปรับประยุกต์โปแกรมการฝึกหรือการออกกำลังกายได้
    • สมรรถภาพทางกายเป็นตัวชี้วัดอีกด้านในการคัดเลือกนักกีฬาของผู้ฝึกสอน
    • ระดับสมรรถภาพทางกายที่ได้จากการทดสอบจะเป็นตัวกำหนดหรือข้อพิจารณาในการเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
1.7 ขอบข่ายของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ง่ายและพิจารณาให้ง่ายขึ้น การแบ่งขอบข่ายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ชัดเจนจะทำให้ผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถมองภาพชัดเจนมากขึ้น ดังที่ กองวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา ได้แบ่งขอบข่ายการทดสอบสมรรถภาพทางกายไว้ดังนี้
1. การทดสอบโครงสร้างของร่างกาย เช่น อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบวงอวัยวะต่างๆ และจำนวนเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง
2. การทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
3. การทดสอบสมรรถภาพแอโรบิค เป็นการวัดความสามารถในการในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกาย หรือการทดสอบความทนทานของระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ เช่นการวิ่งระยะไกล การทดสอบด้วยจักรยาน การทดสอบก้าวขึ้นลงม้านั่ง เป็นต้น
4. การทดสอบสมรรถภาพแอนแอโรบิค เป็นการวัดความสามารถในการในการไม่ใช้ออกซิเจนร่างกายขณะอออกกำลังกาย หรือเป็นการวัดความทนทานของกล้ามเนื้อที่มีต่อกรดแลคติกที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายโดยไม่ใช้ออกซิเจน เช่น การวิ่งทดสอบความเร็วระยะสั้น การทดสอบด้วยจัดยาน เป็นต้น

Thursday, May 17, 2018

การทดสอบร่างกายผู้สอบคัดเลือกจาก พล.อส.เป็น นายทหารประทวน

การทดสอบร่างกายพลอาสาสมัคร (เหล่า สห.) เป็นนายทหารประทวน









พิธีประดับยศนายทหารสัญญาบัตร

170930 พ.ค.61 พล.ต.สมชัย  มาลินนท์ ผอ.สน.บก.บก.ทท. เป็นประธานในพิธีประดับยศนายทหารสัญญาบัตรที่ได้รับการปรับยศสูงขึ้น จำนวน 3 นาย  ณ ห้องประชุม 2 บก.สน.บก.บก.ทท.







Saturday, May 12, 2018

การประชุมเชิงปฏิบัติการ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ 9-11 พ.ค.6ๅ
เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล บก.ทท. ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมี รองเจ้ากรมกำลังพลทหารเป็นประธานในพิธีเปิด-ปิดการประชุม






Sunday, May 6, 2018

พิธีประดับเครื่องหมายครูทหารใหม่

เมื่อวันที่ ๗ พ.ค.๖๑ พล.ต.สมชัย  มาลินันนท์ ผอ.สน.บก.บก.ทท. พร้อมคณะ ได้กรุณาให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานใน พิธีเปิดการฝึกทหารใหม่ และ พิธีประดับเครื่องหมายครูทหารใหม่ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ ผลัดที่ ๑ โดยมี ผบ.พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท. ให้การต้อนรับ ณ ลานเอนกประสงค์ พัน.รวป.สน.บก.บก.ทท.





 ความมุ่งหมาย
                   ๑. เพื่อฟื้นฟูวิชาทหารที่จำเป็นบางวิชาที่ได้รับการฝึก ศึกษา ไปแล้วตามระเบียบและหลักสูตรการฝึกทหารใหม่เบื้องต้นทั่วไป (๑๐ สัปดาห์) และหลักสูตรการฝึกเฉพาะหน้าที่ (๑ สัปดาห์) ให้บังเกิดความชำนาญและแม่นยำยิ่งขึ้น และให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานแห่งการรับการศึกษาในหน้าที่ครูต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      ๒. เพื่อให้มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่เป็นครูทหารใหม่ ในการฝึกวิชาการต่าง ๆ ที่จะต้องทำการฝึกในสนามฝึก ตามกระบวนวิชาในระเบียบและหลักสูตรการฝึกทหารใหม่ได้
                     ๓. เพื่อให้มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่เป็นครูทหารใหม่ สำหรับการสอนและอบรมเป็นบางวิชาในห้องสอนได้
                     ๔ เพื่อปลูกฝังให้เป็นบุคคลที่เคร่งครัดในระเบียบวินัยของทหาร และมีความประพฤติเรียบร้อย เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ทหารใหม่ได้เป็นอย่างดี
                    ๕. เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแก่ทหารใหม่ได้ตามความจำเป็น
           วัตถุประสงค์ 
       ๑. เพื่อเสริมสร้างความรู้ และฟื้นฟูวิชาทหารที่จำเป็นที่ได้รับการฝึกศึกษาไปแล้ว ตามระเบียบและหลักสูตรการฝึกทหารใหม่ ตลอดจนอบรมลักษณะแห่งการเป็นผู้นำให้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่ครูทหารใหม่ให้มีความรู้ ความชำนาญในการฝึก การนำทหารและการสอนพร้อมที่จะวางรากฐาน พื้นฐานวิชาทหารให้แก่ทหารใหม่นับแต่โอกาสแรก
       ๒. เพื่อให้มีความสามารถในการทำหน้าที่การเป็นครูทหารใหม่ ในการฝึกสอนวิชาการต่าง ๆ ที่จะต้องทำการฝึกในสนาม ตามขอบเขตวิชาที่กำหนดไว้ในระเบียบและหลักสูตรทหารใหม่ได้
       ๓. เพื่อปลูกฝังให้เป็นบุคคลที่เคร่งครัดในระเบียบวินัยทหาร และมีความประพฤติเรียบร้อย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ทหารใหม่ได้
๔. ให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำพัฒนาวินัยการเห็นคุณค่าและคุณลักษณะในตัวของทหารใหม่ได้อย่างเหมาะสม  และการรักษาไว้ซึ่งระเบียบวินัยอันดี เป็นเยี่ยงอย่างทหารใหม่ตลอด 

<< คลิ๊กรายละเอียดกิจกรรม>>

วิสัยทัศน์

"เป็นเลิศในการฝึกการรบ ทุกมิติ พรั้งพร้อมด้วยศักยภาพการ วางแผน อำนวยการ และประสานด้วยระบบการบังคับบัญชาที่รวดเร็ว เป็นที่ยอมรับของเหล่าทัพ"

ตามหลักการฝึกไม่ต่างกับการสร้างบ้าน จะต้องมีกระบวนการกำหนดรูปแบบ พื้นที่ และความต้องการใช้สอยให้เกิดประสิทธิภาพ สะดวก สบาย จึงเขียนแบบแปลนโครงสร้าง และกำหนดรายละเอียดการใช้สอยตามความต้องการ การฝึกการรบต้องคัดกรองบุคลากรให้มีสุขภาพแข็งแรง มีความอดทนต่อสภาพภูมิประเทศ เพื่อพัฒนาทักษะในรูปแบบกระบวนการฝึกในแต่ละมิติ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์

การประกันคุณภาพภายใน เป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการโดยหลักการและกระบวนการบริหารดังกล่าว เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จโดยจะต้องมีกระบวนการวางแผนทำตามแผน กระบวนการตรวจสอบและประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อให้การทำงานได้ผลและมีคุณภาพดี

วัฒนธรรมอังค์กรสมัยต้องไม่ยึดติดกับที่ทำงาน หรือโต๊ะทำงาน เพียงอย่างเดียว ต้องสามารถวางแผน หรือทำงานได้ทุกที่อีกทั้งต้องมีกระบวนการบูรณาการความรู้ในการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ที่หลากหลาย สามารถทำงานทดแทนกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ