ความหมาย ของการทดสอยสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Test) หมายถึง การวัดระดับความสามารถของร่างกายหรือส่วนต่างของร่างกายที่ต้องการวัดเพื่อประเมินระดับความสามารถว่าดีมากน้อยเพียงใดโดยเฉพาะ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ ความเร็ว พลังกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว และความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิต
ความสำคัญ ของการทดสอยสมรรถภาพทางกาย ในการประเมินความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย สามารถทำได้โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย สำหรับกลุ่มนักกีฬาทำการทดสอบสมรรถภาพ เพื่อให้ทราบระดับความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งในขณะฝึกซ้อม ก่อนแข่งขัน และหลังแข่งขัน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเล่นกีฬา สำหรับแข่งขันให้สูงขึ้นมากที่สุด สำหรับบุคคลธรรมดา ควรทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ให้ทราบระดับความสามารถของร่างกาย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมให้กับตนเอง และพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้น และมีความพร้อมต่อการออกกำลังกาย และการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน
1.1 เพราะเหตุใดจึงต้องมีการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
การมีสุขภาพร่างกายที่ดีนั้นประกอบด้วย ความสมบูรณ์ของระบบไหลเวียน หายใจ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ และส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง เปอร์เซ็นต์ไขมัน การพัฒนาเสริมสร้างร่างกายควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กโดยเฉพาะการเรียนพลศึกษาในโรงเรียน จะเห็นได้ว่าในโรงเรียนจะต้องมีการวัดและทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหรือนักเรียนมีการพัฒนาหรือไม่อย่างไร ยิ่งกว่านั้นผลจากาการทดสอบจะนำไปใช้ในการพัฒนา ทั้งในกลุ่มคนที่เป็น สมรรถภาพของแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
1.2 ทดสอบสมรรถภาพทางกายมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. แบ่งกลุ่มระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
2. เพื่อวิเคราะห์ผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
3. ใช้ในการประเมินให้คำแนะนำการออกกำลังกาย
4. ใช้ในการประเมินโปรแกรมการออกกำลังกาย
5. เพื่อจัดระดับสมรรถภาพทางกายจะได้จัดโปรแกรมได้ถูกต้อง
6. เป็นแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้อยากทราบระดับสมรรถภาพของตนเองและการออกกำลังกายต่อไป
7. ใช้ในการคาดคะเนความเหมาะสมกับการออกกำลังกาย
8. เป็นเครื่องมือสอนเกี่ยวกับสุขภาพและสมรรถภาพทางกายได้อีกวิธีการหนึ่ง
9. ใช้ในการวิจัย เช่น เปรียบเทียบโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือระดับสมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ ในแต่ละกลุ่ม เป็นต้น
1.3 ข้อควรปฏิบัติในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. การแต่งกายด้านความคล่องแคล่วว่องไวควรคำนึงถึง
1.1 เสื้อผ้าขนาดพอเหมาะกับร่างกาย
1.2 ทรงผมจัดให้เรียบร้อย
1.3 รองเท้าไม่มีส้นที่สูง (รองเท้าผ้าใบสวมถุงเท้าทุกครั้ง)
2. การแต่งกายด้านความทนทานควรคำนึงถึง
2.1 เสื้อแขนยาว ผ้าใยเทียม ทำให้การระบายความร้อนยาก (เสียเหงื่อมาก)
2.2 ผ้าสีทึบดูดความร้อนได้มากกว่าสีอ่อน
1.4 หลักปฏิบัติในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. วันก่อนทดสอบ
1.1 อาหารประจำวันไม่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากเดิมมากนัก
1.2 งดการออกกำลังกายหนัก
1.3 หลีกเลี่ยงการใช้ความคิดหนัก
1.4 งดกินยาที่ออกฤทธิ์ระยะนาน
1.5 พักผ่อนให้เพียงพอ
2. วันที่ทดสอบ
2.1 อาหารควรรับประทานอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบ
2.2 งดกินยาหรือสิ่งกระตุ้น (บุหรี่ ชา กาแฟ)
2.3 เตรียมเครื่องแต่งกายให้พร้อม
3. การทดสอบ
3.1 ถ้ารู้สึกว่าไม่สบายให้หยุดหรือแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
3.2 อย่าหยอกล้อกันตั้งใจทดสอบอย่างเต็มที่
1.5 ข้อห้ามในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
1. แพทย์ไม่อนุญาตให้ออกกำลังกายมากเกิน
2. อุณหภูมิร่างกายเกิน 37 องศาเซลเซียส
3. อัตราการเต้นของหัวใจเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที
4. มีอาการที่ส่อแสดงว่าหัวใจทำงานผิดปกติ
5. อยู่ในระยะที่มีการติดเชื้อ
นักกีฬามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสุขภาพที่ดี มีสมรรถภาพทางกายที่ดี สมรรถภาพทางกายที่สำคัญประกอบด้วย
- ความทนทานของระบบไหลเวียนและหายใจ
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- ความทนทานของกล้ามเนื้อ
- พลังกล้ามเนื้อ
- ความเร็ว
- ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ
- ส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย
- ความคล่องแคล่วว่องไว
- ความแม่นยำ
- ความสมดุลของการทรงตัว เวลาปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย
- การประสานสัมพันธ์ของประสาทกล้ามเนื้อ
สมรรถภาพทางกายด้านต่างๆ นี้มีความจำเป็นและสำคัญแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิด
กีฬา ฉะนั้นการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬา ก็เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ นำผลที่ได้ไปปรับปรุงรูปแบบในการพัฒนานักกีฬาต่อไป
1.6 ประโยชน์ของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
- ทำให้ทราบระดับความสามารถของตนเองหรือผู้ที่ถูกทดสอบว่าระดับสมรรถภาพทางกายที่ทดสอบนั้นอยู่ในระดับดีมากน้อยเพียงเมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน
- ทำให้ทราบถึงการพัฒนาของสมรรถภาพทางกายและสามารถนำไปปรับประยุกต์โปแกรมการฝึกหรือการออกกำลังกายได้
- สมรรถภาพทางกายเป็นตัวชี้วัดอีกด้านในการคัดเลือกนักกีฬาของผู้ฝึกสอน
- ระดับสมรรถภาพทางกายที่ได้จากการทดสอบจะเป็นตัวกำหนดหรือข้อพิจารณาในการเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
1.7 ขอบข่ายของการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจที่ง่ายและพิจารณาให้ง่ายขึ้น การแบ่งขอบข่ายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่ชัดเจนจะทำให้ผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถมองภาพชัดเจนมากขึ้น ดังที่ กองวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา ได้แบ่งขอบข่ายการทดสอบสมรรถภาพทางกายไว้ดังนี้
1. การทดสอบโครงสร้างของร่างกาย เช่น อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบวงอวัยวะต่างๆ และจำนวนเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง
2. การทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้อ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
3. การทดสอบสมรรถภาพแอโรบิค เป็นการวัดความสามารถในการในการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่างกาย หรือการทดสอบความทนทานของระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ เช่นการวิ่งระยะไกล การทดสอบด้วยจักรยาน การทดสอบก้าวขึ้นลงม้านั่ง เป็นต้น
4. การทดสอบสมรรถภาพแอนแอโรบิค เป็นการวัดความสามารถในการในการไม่ใช้ออกซิเจนร่างกายขณะอออกกำลังกาย หรือเป็นการวัดความทนทานของกล้ามเนื้อที่มีต่อกรดแลคติกที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายโดยไม่ใช้ออกซิเจน เช่น การวิ่งทดสอบความเร็วระยะสั้น การทดสอบด้วยจัดยาน เป็นต้น